ติดต่อเรา
053 511 017

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

ที่ทำการปกครองจังหวัดจังหวัดลำพูน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มงาน ดังนี้

1. กลุ่มงานปกครอง แบ่งงานภายในออกเป็น 5 ฝ่าย คือ

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริการทั่วไป งานธุรการ และงานสารบรรณของที่ทำการปกครองจังหวัด

(2) อำนวยการ ประสานงานและให้คำปรึกษาแนะนำในการบริหารการของที่ทำการปกครองอำเภอและกิ่งอำเภอ

(3) สนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ และที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการกรมการปกครอง

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอและหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายบริหารงานปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานปกครองท้องที่ การบริหารงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน

(2) ดำเนินการทางด้านการทะเบียนและรับผิดชอบการดำเนินการตามหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนจังหวัด และควบคุมดูแลปฏิบัติงานด้านการทะเบียนและบัตรของสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักของชนกลุ่มน้อยและคนต่างด้าวอื่น

(3) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในส่วนของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร การจัดทำทะเบียนประวิติและบัตรประจำตัวในส่วนของชนกลุ่มน้อยและคนต่างด้าวอื่น

(4) ดูแลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย เพื่อการทำงาน

(5) ดำเนินการสนับสนุนการเลือกตั้งทุกระดับ

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอและหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายการอนุญาตทางการปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ โรงแรม โรงรับจำนำ อาวุธปืน การค้าของเก่า และขายทอดตลาด การพนัน การเรี่ยไร มูลนิธิ สมาคม และกฎหมายอื่นๆ ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองตามที่กฎหมายกำหนด

(2) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

(3) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ดินสาธารณะ และการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอและหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายประสานแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด การส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอและการจัดทำข้อมูลเพื่อการบริการและพัฒนาพื้นที่จังหวัดแบบบูรณาการ

(2) ดำเนินการประสานแผนพัฒนาระดับต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดรวมทั้ง แผนพัฒนาของหน่วยต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัด

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.)

(4) ดูแลรักษาระบบการสื่อสารข้อมูลของกรมการปกครอง ทั้งเครือข่ายภายใน (Intranet) และเครือข่ายภายนอก (Internet) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกและการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบของกรมการปกครองเพื่อรายงานผลให้กับส่วนกลาง

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบของกรมการปกครองการบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อจัดทำเป็นศูนย์ข้อมูลจังหวัด

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.5 ฝ่ายกิจการพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งภารกิจของส่วนราชการอื่นที่ไม่มีหน่วยรับผิดชอบในระดับพื้นที่

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามที่ได้รับมอบหมาย

(3) สนับสนุนและประสานงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยในจังหวัด

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงในพื้นที่

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กลุ่มงานความมั่นคง แบ่งงานภายในออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

2.1 ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และการจัดระเบียบสังคม

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการอาสารักษาดินแดน

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมหรือที่ได้รับมอบหมาย

(4) ปฏิบัติร่วมกับหรือการป้องกันหรือสนับสนุนการปราบปรามยาเสพติดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมหรือที่มอบหมาย

2.2 ฝ่ายรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการมวลชน

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการข่าว และด้านการสื่อสาร

(3) ดำเนินการเปลี่ยนกับงานกิจการชายแดน งานกิจการผู้อพยพและชนกลุ่มน้อย

(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอและหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

3. ฝ่ายการเงินและบัญชี มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการด้านการเงิน การบัญชี

(2) จัดทำแผนการตรวจสอบด้านการคลัง การบัญชี การเงิน การพัสดุ ของกลุ่มงาน/ฝ่ายต่างๆ ของจังหวัด/ที่ทำการปกครองจังหวัด ที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ และการจัดวางระบบการควบคุมภายใน

(3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอและหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

4. กลุ่มอำนวยความเป็นธรรม แบ่งแบ่งงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

4.1 ฝ่ายอำนวยความเป็นธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับควบคุม กำกับ ดูแล การรายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยความเป็นธรรมอำเภอไปยังกรมการปกครอง

(2) ประสานการดำเนินงานกรณีประชาชนร้องเรียน ร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรม

(3) แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่

(4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองและสนับสนุนเกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ

(5) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพของพนักงานฝ่ายปกครองและสนับสนุนการปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพของอำเภอ ตลอดจนรวบรวมผลการชันสูตรพลิกศพในเขตจังหวัดไปยังกรมการปกครอง

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ และหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

4.2 ฝ่ายนิติการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณา วินิจฉัย เรื่องร้องร้องทุกข์และการอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับคุณสมบัติ การออกจากตำแหน่ง วินัย ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน

(2) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่อำเภอเกี่ยวกับการเลือก การดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป. การออกจากตำแหน่งและการดำเนินการอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการคัดเลือกกำนัน พ.ศ. 2551 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2551 กำหนดและเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัดกรมการปกครอง

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และติดตามผลการดำเนินการทุจริตทางทะเบียนราษฎร ทะเบียนทั่วไป และทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงการสอบสวน การพิจารณา การวินิจฉัย เรื่องการทุจริตทางทะเบียน

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานคดีปกครองและงานวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด คดีล้มละลาย คดีแพ่งและคดีอาญา

(7) ดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งไม่ฟ้องและไม่อุทธรณ์คดีในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

(8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของที่ทำการปกครองอำเภอ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย